Digital Signage Ep.2

Digital Signage Ep.2

รูปแบบการใช้งาน ดิจิตอลไซเนจ Digital Signage

 

รูปแบบการใช้งานดิจิตอลไซเนจแบ่งออกเป็น 3 Mode ดังต่อไปนี้

        Manual mode : เป็นโหมดที่ user ต้องทำทุกอย่างด้วยตนเองทั้งหมด User จะใช้ในโหมดนี้ก็ต่อเมื่อ Display, MCU, Software ไม่สามารถตอบสนองความต้องการของ User ได้ เช่น User ต้องการให้ Display แสดงวีดีโอ แต่ MCU และ Software ไม่สามารถตอบสนองได้เนื่องจากไม่มีฟังก์ชั้นในการทำงานในส่วนของวีดีโอ หรือ user ไม่มีความรู้ความเข้าใจระบบหรือไม่สามารถเข้าถึงฟังชั่นการทำงานนี้ได้ User จึง นำ Digital signage มาต่อเครื่องเล่นวีดีโอ เพื่อให้ display แสดงผลออกบนหน้าจอ

รูปภาพที่ 8 โหมดการทำงานแบบ manual

       Offline mode :  เป็นโหมดที่ดิจิตอลไซเนจทำงานตอบสนองการแสดงผลตามความต้องการของ User ได้สมบูรณ์แบบ แต่การทำงานของดิจิตอลไซเนจแบบออฟไลน์ user จะควบคุมการการแสดงผลหรือตรวจสอบการแสดงผลของไซเนจได้ทีละเครื่อง หากในโครงการที่ user ดูแลอยู่มีดิจิตอลไซเนจมากกว่า 1 เครื่อง user จำเป็นต้องควบคุมการทำงานดิจิตอลไซเนจทีละเครื่องไม่สามารถการทำงานทุกเครื่องในเวลาเดียวกันได้

รูปภาพที่ 9 โหมดการทำงานแบบ offline

         Online mode : ในโหมดนี้ดิจิตอลไซเนจสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพดิจิตอลไซเนจสามารถแสดงผลบน Display ตามความต้องการของ user โดยที่ user สามารถควบคุมดิจิตอลไซเนจทั้งโครงการให้ทำงานสัมพันธ์กันและสามารถความคุมการทำงานทั้งโครงการได้โดย user เพียงคนเดียว

รูปภาพที่ 10 โหมดการทำงานแบบ online

ชนิดของ ดิจิตอลไซเนจแบ่งตามประเภทของ display
 
       ชนิดของ Display จะถูกจำแนกออกตามลักษณะการใช้งาน และขนาดของเม็ดสีโดย 1 จุดเม็ดสี (Pixel) จะประกอบไปด้วยหลอดแม่สี แดง, เหลือง, น้ำเงิน (บางยี่ห้ออาจมีสี ขาวและ สีเหลือง เพื่อเฉดสีให้มีความแตกต่างมากขี้น) เปล่งแสงผสมกันจนเกิดเป็นภาพแสดงบนหน้าจอ, ขนาดของจุดสี (Pixel) , ระยะห่างหว่างเม็ดสี (Pit) , ความสว่างเม็ดสี (Brightness) และ ระยะในการมองเห็นภาพที่มีคมชัด ที่ผู้นำเสนอต้องการให้กลุ่มเป้าหมายรับรู้

รูปภาพที่ 11 แสดงองค์ประกอบของจอแสดงภาพ

โดยชนิดจอแสดงภาพแบ่งได้ดังต่อไปนี้
       
       LED Video Wall :
ชนิดนี้เหมาะสำหรับการแสดงผล ให้ผู้รับข่าวสารข้อมูลในวงกว้าง ตัวหน้าจอจะทำจากหลอด LED (light emitter diode) Display ประเภทนี้ส่วนใหญ่จะถูกออกแบบให้อยู่กลางแจ้ง (Outdoor) โดยส่วนใหญ่จอจะมีขนาด 100 ขึ้นไป ระยะในการมองเห็น หวังผลที่ระยะมากกว่า 10 เมตรขึ้นไป ขึ้นอยู่กับ ขนาดของ Pixel และ ระยะ Pit ของจอภาพ
      เนื่องจากจอชนิดนี้ต้องการแสดงให้เห็นในระยะกว้างจึงจำเป็นต้องมีขนาดใหญ่ ทำให้เม็ดสี Pixel และระยะ Pit มีขนาดใหญ่ และต้องมีความสว่างสูงมาก เพื่อให้มองเห็นได้ในระยะไกลๆ
      เนื่องจากจอประเภทนี้จะมีขนาดใหญ่ ทำให้มีจุดด้อยในส่วนของการแสดงผลผู้บริโภคที่อยู่ในระยะใกล้หน้าจอจะไม่สามารถรับข่าวสารบนจอได้อย่างครบถ้วน

รูปภาพที่ 12 แสดงรูปแบบการใช้งานจอ แบบ LED Video Wall

         LCD (Liquid Crystal Display) monitor : จอประเภทนี้ เป็นเทคโนโลยีจอบางรุ่นแรกๆ ของดิจิตอลไซเนจ ปัจจุบันดิจิตอลไซเนจไม่ได้นำจอประเภทนี้มาใช้งานแล้ว แต่ในที่นี้จะขออธิบายโครงสร้างของจอประเภทนี้เพราะโครงสร้างของจอประเภทนี้เป็นพื้นฐานของจอ LED ที่จะกล่าวในหัวข้อต่อไป
         จอประเภทนี้จัดอยู่ในกลุ่มจอแสดงผลขนาดเล็ก และส่วนใหญ่ถูกออกแบบมาให้ทำงานในร่มปราศจากฝุ่นละออง (indoor) โดยมีโครงสร้างดังต่อไปนี้

 

รูปภาพที่ 13 แสดงโครงสร้างของหน้าจอ LCD


โครงสร้างของจอ LCD ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ

        1. ส่วนกำเนิดแสงสีขาว  (Backlight unit) จะเป็น หลอดไฟ CCFL หรือ Cold Cathode Fluorescent Lamp
      2. ส่วนควาคุมความสว่างของสำแสง ประกอบด้วย Polarizer, TFT Array, Liquid Crystal องค์ประกอบทั้ง 3 ส่วนนี้จะทำหน้าควบคุมทิศทางและความสว่างของแสงที่จะวิ่งผ่านตัวกำเนิดสี filter Color
       3. แผงกำเนิดสี color filter ทำหน้าเปลี่ยนลำแสงสีขาวให้เป็นสีตามแม่สี แดง, เขียว, น้ำเงิน

          จากรูป การสร้างภาพจะใช้หลักการปล่อยแสงสีขาวจาก backlight  วิ่งผ่านแผงควบคุมทิศทางและความสว่างของแสงแล้ววิ่งผ่านฟิลเตอร์สีเพื่อเปลี่ยนแสงสีขาวเป็นสี แดง, เขียว, น้ำเงิน ไปแสดงบนหน้าจอ โดยจุดแสดงสี แดง, เขียว, น้ำเงิน จะมีขนาดเล็กมาก รวมกันเป็น Pixel  ในหนึ่งหน้าจอก็จะมีการเรียงตัวของ Pixel ตามขนาดของหน้าจอ

        จอภาพแบบ LCD นี้ใช้เทคโนโลยีหลอดนีออนมาเป็นตัวกำเนิดแสงสีขาว ซึ่งเทคโนโลยีแสงแบบนี้มีจุดอ่อนตรงที่ อุณหภูมิในการทำงานของหลอดสูง, กินไฟมาก, มีความหนา และอายุการใช้งานต่ำ การควบคุมความเข็มของแสงให้สม่ำเสมอทั้งหน้าจอควบคุมได้ยาก ทำให้เมื่อใช้งานไปนานๆ จะเกิดปัญหา จอเกิดรอยใหม้ เนื่องจากการสะสมของความร้อนในหน้าจอ, เกิดปัญหาความสว่างของหน้าไม่เท่ากันเนื่องจากหลอดนีออนเสื่อมสภาพตามอายุการใช้งานและความร้อน

         ด้วยเหตุผลดังกล่าว ท่านจะพบ เมื่อท่านนำจอ LCD มาใช้ในงานโฆษณา ซึ่งจำเป็นต้องเปิดจอภาพเพื่อแสดงผลเป็นเวลานาน จะทำให้เกิดความร้อนสะสมบนหน้าจอจำนวนมากทำให้เกิดปัญหาหน้าจอไหม้เป็นจุดดำบนหน้าจอหรือ เกิดปัญหาความสว่างของภาพที่แสดงบนหน้าจอไม่เท่ากันทั้งภาพ
รูปภาพที่ 14 แสดงภาพการเกิดความร้อนสะสมความบนจอจนเกิดรอยไหม้ สีเพี้ยน และความสว่างของถาพไม่เท่ากัน

         LED monitor (Light Emitting Diode) : จริงๆ แล้วถ้าเรียกให้ถูกตามเทคโนโลยีเราจะเรียกว่า LED Backlight monitor เทคโนโลยีจอภาพนี้พัฒนาต่อเนื่องมาจาก Plasma monitor และ LCD monitor ที่กล่าวในหัวข้อที่ผ่านมา ส่วน Plasma monitor ไม่ขออธิบายเนื่องจาก เทคโนโลยีนี้ได้เลิกผลิตไปแล้ว

          LED Backlight monitor จะทำงานคล้ายกับ LCD แต่ได้มีการเปลี่ยนเทคโนโลยีของ Backlight จาก หลอดไฟ CCFL หรือ Cold Cathode Fluorescent Lamp มาเป็น เทคโนโลยี LED แทน ด้วยเทคโนโลยีได้แก้ปัญหาในเรื่องของอุณหภูมิการทำงานที่ต่ำ, พลังงานที่ใช้ต่ำ, ขนาดของหลอดมีขนาดเล็กทำให้ทีวีมีความบางลงและน้ำหนักเบา, อายุการใช้งานมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ LED จึงเป็นที่นิยมและมีการผลิตในเชิงพาณิชย์อย่างกว้างขวาง
 
การใช้เทคโนโลยี LED backlight monitor จะมีการจัดวาง LED อยู่ 3 รูปแบบ

         Full array :  เป็นการวางหลอด LED ทั่วบริเวณด้านหลังของ monitor. วิธีนี้เป็นวิธีที่ดีที่สุดของการออกแบบ backlight เพราะให้ความสม่ำเสมอของความเข้มแสง สามารถแพร่กระจายได้อย่างทั่วถึง จึงทำให้แผงควบคุมความสว่างกำเนิดสี  สามารถทำงานเต็มประสิทธิภาพ
          ในบางยี่ห้อของ monitor ใช้เทคโนโลยีช่วยให้ จอภาพแสดงสีดำดำสนิท โดยใช้วิธีการดับหลอด Backlight บริเวณที่ต้องการแสดงสีดำ จึงทำให้หน้าจอแสดงสีดำได้มากขึ้น
         ปัญหาของเทคโนโลยีคือต้นทุนการผลิตที่สูงเนื่องจากต้องใช้หลอด LED จำนวนมากต่อ 1 จอ , กระบวนการผลิตที่ยุ่งยาก, ทีวีมีความหนาที่สุดเมื่อเทียบกับการวาง Backlight แบบอื่น


รูปภพที่ 15 แสดงการวางหลอด LED backlight แบบ full array.
 

        Edge lit : เป็นวางหลอด LED Backlight ตามขอบหน้าและใช้เทคนิคให้แสงกระจายไปทั่วหน้าจอ จอมอนิเตอร์ส่วนใหญ่ใช้เทคนิคนี้เพราะประหยัดและลดความหนาของทีวีลงได้มาก
   แต่ในทางเทคนิคก็จะพบปัญหา หากผู้ออกแบบจอมอนิเตอร์ออกแบบไม่ดี หรือ หากใช้จอมอนิเตอร์ไปนานๆ จะพบปัญหาขอบของจอมอนิเตอร์จะมีแสงสว่างของภาพมากกว่าบริเวณกลางจอ ทำให้ภาพที่แสดงบนหน้าจอผิดเพี้ยนไปได้
 

รูปภาพที่ 16 แสดงการวางหลอด LED backlight แบบ Edge lit
 
 
          Direct lit :  เทคนิคนี้เป็นการผสมผสานโดยการวางหลอด LED แบบ full array แต่เว้นระยะห่างมากขึ้นเพื่อประหยัดต้นทุน และแก้ปัญหาความสว่างของจอภาพที่ไม่สม่ำเสมอ แต่ก็ยังพบปัญหา เรื่องความหนาของทีวี
 

รูปภาพที่ 17 แสดงการวางหลอด LED backlight แบบ Direct lit


        OLED (organic light-emitting diode) monitor : หรือเรียกสั้นว่า โอเลต มอนิเตอร์ เป็นเทคโนโลยีใหม่ล่าสุดของค่ายผลิตจอมอนิเตอร์ยักษ์ใหญ่ของโลก โดยได้นำเอา ส่วนของ backlight และ LCD ออก โดยออกแบบ Pixel  ให้สามารถเปล่งแสงออกมาด้วยตัว Pixel เอง โดยการฝังหลอด LED แม่สีขนาดเล็กมากๆ ลงบน Pixel เลย หลักการเดียวกับ LED Video Wall แต่หลอด LED และระยะห่างของหลอดมีขนาดเล็กมากๆ โดยในระดับห้องปฏิบัติการสามารถทำให้จอมอนิเตอร์มีขนาดบางในระดับน้อยกว่า 1 มิลลิเมตร หรือที่เรียกกันว่า film monitor. แต่ในเชิงพาณิชย์ ทาง LG ได้ออกแบบจอมอนิเตอรืที่มีความบางขนาด 4 มิลลิเมตร ภายใต้ คอนเซ็ป วอลเปเปอร์ มอนิเตอร์ (Wall Paper monitor) และได้ออกแบบผลิตภัณฑ์ในกลุ่มของ ทีวี และดิจิตอลไซเนจ เป็นที่เรียบร้อย

          โครงสร้างของ โอเลต OLED จะถูกสร้างขึ้นจากแผง LED แม่สีขนาดเล็กมากๆ วางอัดแน่นบนแผงแสดงผล โดยมีแผงจัดทิศทางแสง (Polarizer) เพื่อป้องกันการรบกวนระหว่าง Pixel และควบคุมทิศทางการเดินทางของแสงมายังหน้าจอแสดงผล และในด้านการแสดงสีบนหน้าจอ จะใช้หลักการควบคุมความสว่างของแต่ละหลอดแม่สีโดยตรงไม่ต้องอาศัย LCD มาลดทอนความเข้มแสง ด้วยเหตุนี้จอภาพ แบบ โอเลต OLED จึงให้สีสันสดใสเหมือนจริง และสามารถแสดงสีดำได้ในระดับดำสนิท (infinity black) เพราะหลักการแสดงสีดำบนหน้าจอแสดงภาพ คือการทำให้หน้าจอไม่มีแสงใดๆ ออกมาจากบริเวณที่ต้องการแสดงเป็นสีดำ ก็คือการดับแสงของหลอด LED ที่จะแสดงเป็นสีดำนั้นเอง ซึ่งแตกต่างจาก จอ LCD การที่จะแสดงสีดำใช้หลักการสั่งให้ LCD ปิดกั้นแสงไม่ให้ออกมาแสดงบนหน้าจอ ด้วยคุณสมบัติของ LCD และ backlight สีดำบนจอ LCD ก็จะยังเป็นแสงสว่างเรื่อยๆ ออกมาไม่สามารถทำให้ดำสนิทได้ 
 
 
รูปภาพที่ 18 แสดงโครงสร้างของ OLED เปรียบเทียบกับ LCD Monitor
 
 
 


 
นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา        ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  Facebook / QR Code

  @hstn.co.th / QR Code

  info@hstn.co.th

         โทร02-889-4701, 02-889-4702  แฟกซ์. 02-889-4700

         คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322


 

This website uses cookies for best user experience, to find out more you can go to our Privacy Policy  and  Cookies Policy