วิวัฒนาการของ HFC (HFC Evolution)

วิวัฒนาการของ HFC (HFC Evolution)

       วิวัฒนาการของ HFC (HFC Evolution) Ep1

        พูดถึงเรื่องโครงข่ายในระบบ CATV ที่เป็น HFC (Hybridge Fiber Coaxial) หลายๆ ท่านน่าจะเคยได้ยิน ได้ฟังคำๆ นี้มาบ้างแล้ว แต่ท่านรู้หรือไม่ว่ามันคืออะไร มีลักษณะอย่างไร ต้องใช้อะไรบ้างในโครงข่าย และ มีวิวัฒนาการการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาไปในทิศทางไหน เรามาร่วมศึกษาไปพร้อมๆกันเลยครับ
        ขอแบ่งวิวัฒนาการของ HFC (Hybridge Fiber Coaxial) ออกเป็น 5 ช่วง ตามนี้

รูปภาพที่ 1 วิวัฒนาการของ HFC (Hybridge Fiber Coaxial)

  1. Node+Many
            เป็นยุคแรกๆที่เริ่มนำ ระบบไฟเบอร์ อ๊อฟติคมาใช้งาน โดยราคาของอุปกรณ์ ยังมีราคาสูงมาก จึงทำให้ ใช้ Node หรือ ตัวรับ สัญญาณ ไฟเบอร์อ๊อฟติคยังไม่มาก ต่อ 1 Node จะใช้ Amplifier ต่อท้ายไปจำนวนมาก เพื่อให้สามารถส่งสัญญาณได้ไกลมากขึ้น และใช้ Node จำนวนน้อยลง เพื่อลดต้นทุน แต่คุณภาพสัญญาณภาพก็ยังดีกว่าโครงข่ายที่เป็น Coaxial อย่างเดียว
  2. Node+3
            ผ่านยุค Node + Many มา เมื่อมีการใช้งานอุปกรณ์ไฟเบอร์อ๊อฟติคกันอย่างแพร่หลาย ราคาอุปกรณ์จึงเริ่มลดลงสามารถจับต้องได้ และ เป็นที่นิยมมากขึ้น ประกอบกับเริ่มมีระบบ EoC (Ethernet on Cable) เข้ามาบริการด้วย จึงกำเนิดยุค Node + 3 ขึ้นมา ด้วยข้อจำกัดของ การส่งข้อมูลขา Up stream หรือ Up Load ที่ไม่สามารถ ส่งไกลเกิน Amplifier จำนวน 3 ตัวได้ ด้วยข้อจำกัดของ Insertion Loss ในสาย Coaxial ประกอบกับ เจ้าของโครงข่ายมีการส่งจำนวนช่องรายการมากขึ้น ต้องการควบคุมคุณภาพของสัญญาณให้ดีมากขึ้น เมื่อใช้ความถี่สูงมากขึ้นทำให้การควบคุมระดับสัญญาณยากมากขึ้นไปด้วย Node + 3 จึงตอบโจทย์ทุกปัญหาในยุคดังกล่าวได้เป็นอย่างดี
  3. Node+1
            ถัดจาก Node +3 เริ่มมีการพัฒนา มาเป็น Node + 1 เนื่องได้ราคาอุปกรณ์ที่ถูกลงมาก และ การใช้ไฟเบอร์เยอะขึ้นทำให้การ Service ในส่วนของโครงข่าย ลดลง ง่ายต่อการปรับสัญญาณ และ ยังได้คุณภาพสัญญาณที่ดีขึ้นด้วย จึงทำให้เกิดยุค Node + 1 ขึ้นมา
  4. Node+0
            ถัดมาไม่นาน ก็เริ่มมีผู้ให้บริการนำโครงข่าย Node + 0 มาใช้งาน เพราะ ลดปัญหาทุกอย่างได้ สัญญาณจาก Node ผ่านTap วิ่งเข้าไปที่บ้านของ ลูกค้าโดยตรงโดยไม่ต้องผ่าน Amplifier ระบบ Node + 0 หรือ มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า RFoG (RF Over Glass) เป็นวิวัฒนาการ ก่อนที่จะไปถึงระบบสุดท้ายที่ผมจะกล่าวถึงในบทความนี้
  5. FTTx
            วิวัฒนาการล่าสุดตอนนี้ คือ FTTx (Fiber To The x) เป็นโครงข่ายแบบ PON (Passive Optical Network) โครงข่ายที่ไม่มีการใช้ฟเลี้ยงระหว่างทาง โดยจะเดินสายไฟเบอร์เข้าไปยังบ้านลูกค้าโดยตรง และนำ Node วางไว้ที่บ้านลูกค้า ทำให้โครงข่ายเป็นเพียวไฟเบอร์  จึงเป็นที่มาของชื่อเรียกที่ว่า FTTx (Fiber to the x) 

 

By MiMhee

นัดสำรวจพื้นที่ หรือ ออกแบบ และ ประเมินราคา        ไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ

 บริการหลังการขาย SLA 12 ชั่วโมง สำหรับกรุงเทพ และปริมณฑล, 24 ชั่วโมง สำหรับต่างจังหวัด

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

  Facebook / QR Code

  @hstn.co.th / QR Code

  info@hstn.co.th

         โทร02-889-4701, 02-889-4702  แฟกซ์. 02-889-4700

         คอลเซ็นเตอร์ : 082-726-5320, 082-726-5321, 082-726-5322


 

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้